วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563



บันทึกครั้งที่3

วันศุกร์ ที่ 21 สิงาคม 2563 เวลา 08.30-12.30น.


การจัดประสบการณ์

   1.สิ่งที่เด็กสนใจ

   2.สิ่งที่อยู่รอบตัว/ใกล้ตัว

   3.สถานกาณร์/ผลกระทบที่อยู่ปัจจุบัน

   4.หลักสูตร

นิยามของเด็ก คือ ตั้งแต่มีกปฏิสัมพันธ์จนถึง6ปี

การทดลองเป็นวิธีการ

การสำรวจเป็นวิธีการ

การสังเกตเป็นวิธีการ

การเล่นเป็นวิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้

 พัฒนาการด้สนสติปัญญาของเพียเจต์

           👉ขั้นที่1 (แรกเกิด - 2 ขวบ)

         วัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆของร่างกาย

         👉ขั้นที่2  (อายุ18 เดือน - 7 ปี)

          เด็กก่อนเข้าโรงเรียนและวัยอนุบาล มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้ เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว ได้ หรือ มีพัฒนาการทางด้านภาษา เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการพูดเป็นประโยคและเรียนรู้คาต่างๆเพิ่มขึ้น เด็กจะได้รู้จักคิด

         👉ขั้นที่3 (อายุ 7 - 11 ปี)

             เด็กวัยนี้สามารถแบ่งกลุ่มโดยใช้เกณฑ์หลายๆอย่าง และคิดย้อนกลับ ได้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมและความสัมพันธ์ของงของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจากัดหลายอย่าง

         👉ขั้นที่4  (อายุ 12 ปีขึ้นไป)

           เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดเป็นผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กสิ้นสุดลง เด็กสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดเป็นนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎีและเห็นว่าความจริงที่เห็นด้วยกับการรับรู้

พัฒนาการ

  👉ความสามารถของเด็กที่พัฒนาตามช่วงวัย

  👉ถ้าไม่มีการพัฒนาตามขั้นจะมีผลกระทบต่อขั้นต่อไป

  👉ลักษณะพัฒนาการเปลี่ยนเป็นลำดับขั้น

การวัดความสามารถ/พัฒนาการ

  ความกล้าแสดงออก

  การอธิบาย

  การแสดงพฤติกรรม


คำศัพท์
1.สังเกต = observe   
2.ประเภท = category   
3.เกี่ยวกับผู้แต่ง = About the author   
4.  การวัด = measure     
5.คำทำนาย = Prediction   


ประเมิน

ประเมินตนเอง  ตั้งใจฟังที่อาจารย์หมอยหมายงาน

ประเมินเพื่อน   ตั้งใจฟังและตอบคำถามอาจารย์เมื่ออาจารย์ถาม

ประเมินอาจารย์  พูดอธิบายเกี่ยวกับการทำบล็อกและรายละเอียดในส่วน


วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563


บันทึกครั้งที่2

วันศุกร์ ที่ 14 สิงาคม 2563 เวลา 08.30-12.30น.



      เนื้อหาที่เรียน

     วันนี้เรียนเรื่องการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และอาจารย์ได้เริ่มต้นด้วยคำถามเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ต่างๆในตอนนี้ว่ามีเหตุการณ์อะไรบ้างนักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นกับอาจารย์

-ข่าวเก้ากับเจนนี่

ข่าวม็อบนักศึกษา

-ข่าวระเบิดที่เลบานอล

 -ข่าวน้ำท่วมที่จีน

     และจากนั้นอาจารย์ก็ได้เชื่อมโยงข่าวต่างๆที่เกิดขึ้นให้เข้ากับวิทยาศาสตร์ และได้อธิบายขยายความให้นักศึกษาได้เข้าใจว่าทุกเรื่องสามารถเป็นวิทยาศาสตร์ได้โดยการใช้เหตุและผล อาจารย์ให้จัดกลุ่ม5คน โดยให้นักศึกษาช่วยกันคิดว่าเมื่อนึกถึงเด็กปฐมวัยนึกถึงอะไร วิทยาศาสตร์นึกถึงอะไร และการจัดประสบการณ์นึกถึงอะไร โดยอาจารย์ได้ให้นักศึกษาได้ออกแบบในการทกิจกรรมำในครั้งนี้ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ช่วยกันคิดและวิเคราะห์ออกมาดังนี้

        การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

   

     เด็กปฐมวัย

-มีพัฒนาการเป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง

-การอบรมเลี้ยงดูมีผลต่อพัฒนาการของเด็ก

-สมองในวัยของเด็กจะสามารถรับรู้ ซึมซับ ทับซ้อนความรู้เดิมและมีความแตกต่างเกิดการปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่


     วิทยาศาสตร์

-สิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติเป็นคุณสมบัติของ                               สิ่งแวดล้อม(สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่เกิดเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น)

-การทดลอง เด็กได้มีการลองผิดลองถูก และได้เห็นการเปลี่ยนแปลง

-การทดลอง 1.วิธีการ มีขั้นตอนเป็นกระบวนการ 2.เครื่องมือ

ตัวอย่างเช่น  การปลูกถั่วงอก

เป้าหมาย  คือปลูกถั่วงอกจะเติบโต

วิธีการ  คือมีขั้นตอนเป็นกระบวนการ เกิดการเปลี่ยนแปลงคือการมีการเจริญเติบโต


     การจัดประสบการณ์

-สื่อ เพราะสื่อเป็นตัวกลางในการเรียนรู้ของเด็ก

-การเล่น เพราะการเล่นเป็นวิธีการในการเรียนรู้ของเด็ก



    

     

      เด็กปฐมวัยVSวิทยาศาสตร์

1)วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กเด็กจริงหรือไม่?

ตอบ ไม่จริง เพราะว่า เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่กำลังอยากรู้อยากเห็น และวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  คือการสังเกต  การค้นคว้าหาคำตอบ เมื่อเด็กได้ลงมือทำก็จะกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น  ความสนใจ  และความรู้สึกของเด็กด้วยการค้นให้หาคำตอบ เด็กได้ลองลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเด็กจะสนุกและภูมิใจกับสิ่งที่ได้ทำ ดิฉันจึงคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่เด็กน่าจะชอบ


2)ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อนุบาลจะยากเกินไปไหม?

ตอบ  ไม่ยาก เพราะเป็นเรื่องที่เด็กก็สามารถทำได้  


3)ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร?

ตอบ เรียนรู้จากธรรมชาติรอบตัวเด็ก และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเหมาะสมให้กับเด็ก โดยมุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบด้วยตนเองมากที่สุด

ให้เด็กเริ่มจากการสังเกต การตั้งคำถาม  การวางแผน  การสำรวจ และการลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง


      คำศัพท์

1.การสังเกต = Observing

2.ธรรมชาติ = nature

3.การสำรวจ = Survey

4.การทดลอง = The experiment

5.สิ่งแวดล้อม = environment


    ประเมิน

อาจารย์ : สอนได้เข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมเนื้อหาต่างๆให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 

เพื่อน : ตั้งใจเรียนบางส่วน และช่วยกันทำงานที่ได้รับมอบหมาย

ตัวเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์ จดบันทึก และตอบคำถามที่อาจารย์ถาม



บันทึกครั้งที่1

วันศุกร์ ที่ 7 สิงาคม 2563 เวลา 08.30-12.30น.




🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀



        เนื้อหาที่เรียน 

       วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาได้อ่าน มคอ.3 ของรายวิชานี้ และได้ให้นักศึกษาหาว่าวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต้องเรียนอะไรบ้างดิฉันจึงเขียนออกมาดังนี้

     

       การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(Science Provision for Early Childhood)

   สิ่งแวดล้อม 

-สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

-สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

    

    สิ่งมีชีวิตต่างๆ

-คน

-สัตว์

-พืช


    ดาราศาสตร์

-กลางวัน/กลางคืน

-ดวงดาว

-ระบบสุริยะและจักรวาล


    การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

-ฤดูกาล


    การทดลอง

-การทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เช่น การปลูกถั่วงอก การลอยจมของไข่ และอื่นๆ


   การสังเกต

-คน สัตว์ พืช

-สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น

-สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลง


   การเปลี่ยนแปลง

-การทดลองต่างๆที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

-ลอย-จม

-แรงโน้มถ่วง


   



    คำศัพท์

1.แรงโน้มถ่วง = Gravity

2.ฤดูกาล = The seasons

3.ดาราศาสตร์ = astronomy

4.ดวงดาว = The stars

5.ระบบสุริยะ = solar system



      การประเมิน

อาจารย์ : อธิบายเพิ่มเติมเนื้อหาต่างๆได้ชัดเจน

เพื่อน : ตั้งใจเรียนบางส่วน และทำงานที่ได้รับมอบหมาย

ตัวเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์ และตอบคำถามที่อาจารย์ถาม

  นิทานเรื่องลูกหมูสามตัวด้วยกระบวนการกิจกรรมสะเต็ม สื่อเพื่อพัฒนาลูกรัก         เอกสารส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสต...